วิจัยเชิงคุณภาพ : กรณีศึกษา โรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ฯ สพป.สตูล

ชื่อเรื่องวิจัย  การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และบริบทของโรงเรียน  กรณีศึกษา : โรงเรียนแกนนำยกระดับผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล

ผู้วิจัย            พนิดา บินต่วน

ปีที่วิจัยเสร็จ    2554

           ระเบียบวิธีวิจัยใช้แนวคิดเชิงคุณภาพ  และเพื่อความน่าเชื่อถือของข้อมูล จึงใช้วิธีการตรวจสอบแบบสามเส้า(Triangulation) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน  ครู  นักเรียน  ผู้ปกครอง  เอกสารที่เกี่ยวข้อง และสภาพทั่วไปของโรงเรียน  ระหว่างเดือนสิงหาคม 2553– กันยายน 2554  และวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์  การสังเกต การคัดลอกเอกสารเป็นคำบรรยาย โดยวิเคราะห์รายกรณีศึกษา(Within-case analysis)  และตามด้วยข้ามกรณีศึกษา(Cross-case analysis)

           

        มีประเด็นที่น่าศึกษา  ได้แก่                                                                                 

1) ข้อมูลจากบทสัมภาษณ์โดยเฉพาะของผู้ปกครองและนักเรียน …….รายละเอียดของบทสัมภาษณ์ : บทที่ 4

2) การวิจัยครั้งนี้ มีข้อสังเกตจากผลการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คือ ความสามารถของผู้เรียน เกี่ยวกับการใช้ทักษะการคิด หรือทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในการแก้ปัญหาและสืบเสาะหาความรู้ มีจุดอ่อนมากที่สุด  อาจจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่อยมา  ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยต่าง ๆ ที่พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์  มีความสัมพันธ์กับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ ผลการเรียนรู้ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สามารถทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ได้(ใช้สมการพยากรณ์ทำนาย)  และนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอน  เพื่อพัฒนาทักษะการคิด  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ …..ในรายละเอียดของการอภิปรายผล : บทที่ 5                * วิจัยคุณภาพ (วิทย์) 

ผู้ชม :9901