การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด “มิตรภาพที่ 114” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ปีการศึกษา 2554

ชื่อเรื่องวิจัย การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด “มิตรภาพที่ 114”   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล  ปีการศึกษา  2554
ผู้วิจัย นายอำนาจ  ฤทธิ์ภักดี
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา  2554

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด “มิตรภาพที่ 114” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล  ปีการศึกษา 2554 2)  เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด“มิตรภาพที่  114”  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษา ประถมศึกษาสตูล  ปีการศึกษา 2554 3)  เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด “มิตรภาพที่  114”  ก่อนและหลังการใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วมในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด“มิตรภาพที่  114”  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล  ปีการศึกษา 2554 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู  ผู้ปกครอง  และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด“มิตรภาพที่  114”  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล  ปีการศึกษา   2554 ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยศึกษาจากประชากรครู  จำนวน 8  คน และกลุ่มตัวอย่างซึ่งประกอบด้วย  กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6  จำนวน 34 คน  กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียน  จำนวน 34  คน  และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  จำนวน7  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  รวมทั้งสิ้น  7  ฉบับ  มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า  จำนวน  5  ฉบับ  แต่ละฉบับมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ระดับ  0.83-0.92 และแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา  8  กลุ่มสาระการเรียนรู้  แบบบันทึกผลการ ประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ(O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด “มิตรภาพที่  114” ปีการศึกษา 2553-2554 จำนวน  2  ฉบับ  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์  โปรแกรม SPSS  version.18.  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  โดยการหาค่าความถี่ (Frequency)  ค่าร้อยละ (Percentage)  ค่าเฉลี่ย (Mean)  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard  Deviation)

ผลการวิจัยพบว่า
1.  ระดับคุณภาพการมีส่วนร่วมในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด“ มิตรภาพที่ 114”   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาสตูล  ปีการศึกษา 2554   ตามความคิดเห็นของนักเรียน  ครู  ผู้ปกครองนักเรียน  คณะกรรมการสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยภาพรวมมีคุณภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก  และเมื่อจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบ สอบถาม  พบว่า  กลุ่มครูมีคุณภาพการปฏิบัติสูงสุด (=4.57 =0.53)  อยู่ในระดับมากที่สุด  รองลงมา  คือ   กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (= 4.52   S.D. = 0.55)  อยู่ในระดับมากที่สุด  กลุ่มผู้ปกครองนักเรียน (= 4.41  S.D. = 0.59) อยู่ในระดับมาก  และกลุ่มนักเรียน  มีคุณภาพการปฏิบัติต่ำสุด ( = 4.36  S.D. = 0.61)  อยู่ในระดับมาก
2.  พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด“ มิตรภาพที่ 114”   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล  ปีการศึกษา 2554  ด้านต่างๆ  4  ด้าน  คือ  ด้านการเตรียมการสอน  ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้  ด้านการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้  และด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้  ตามความคิดเห็นของนักเรียน  โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67  S.D. = 0.22)  เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า  ทุกด้านมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด  โดยด้านการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้  มีคุณภาพสูงสุด (= 4.74 S.D.= 0.21) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (= 4.71  S.D. = 0.26)  อยู่ในระดับมากที่สุด  ด้านการเตรียมการสอน ( = 4.64  S.D. = 0.22)  อยู่ในระดับมากที่สุด  และด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้  มีคุณภาพต่ำสุด ( = 4.62  S.D. = 0.22)  อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน  ส่วนผลการศึกษาตามความคิดเห็นของครูโดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.77  =  0.25)  เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า  ทุกด้านมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด  โดยด้านการเตรียมการสอน  มีคุณภาพสูงสุด (= 4.82  = 0.22)  อยู่ในระดับมากที่สุด  รองลงมา  คือ  ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (= 4.81   =  0.25)  อยู่ในระดับมากที่สุด  ด้านการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ (= 4.75  = 0.34)  อยู่ในระดับมากที่สุด  และด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้  มีคุณภาพต่ำสุด (= 4.73   =  0.19)  อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน
3.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด“ มิตรภาพที่ 114”  หลังการใช้กลยุทธ์ เครือข่ายการมีส่วนร่วม โดยภาพรวมผลสัมฤทธิ์โดยรวมของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ในปีการศึกษา2554 เท่ากับร้อยละ 80.14  ปีการศึกษา  2553  เท่ากับร้อยละ 77.20  ปีการศึกษา  2554  มีค่าพัฒนาสูงขึ้นเท่ากับร้อยละ+2.94 เมื่อพิจารณาเป็นระดับชั้น พบว่าระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าพัฒนาสูงที่สุดเท่ากับร้อยละ +5.21  รองลงมา  คือ  ระดับชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6  มีค่าพัฒนาเท่ากับ +5.00  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  3 มีค่าพัฒนาเท่ากับ +3.02 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าพัฒนาเท่ากับร้อยละ+2.30  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  มีค่าพัฒนาเท่ากับร้อยละ+1.28  และระดับชั้นที่มีค่าพัฒนาต่ำสุด  คือ  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  มีค่าพัฒนาเท่ากับร้อยละ+0.72 ในปีการศึกษา 2554 ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีค่าการพัฒนาสูงขึ้น และผลสัมฤทธิ์เกินเป้าหมายร้อยละ 65 สอดคล้องตามสมมติฐาน  ส่วนผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ(O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2554 มีค่าพัฒนาสูงขึ้นทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้  เมื่อพิจารณาเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้  พบว่า  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  มีค่าพัฒนาสูงที่สุดเท่ากับ +32.67  รองลงมา  คือ  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  มีค่าพัฒนาเท่ากับ +32.10  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  มีค่าพัฒนาเท่ากับ +25.64  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึกษา  มีค่าพัฒนาเท่ากับ +25.50  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  มีค่าพัฒนาเท่ากับ +17.81  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  มีค่าพัฒนาเท่ากับ +10.82  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  มีค่าพัฒนาเท่ากับ +8.31  และกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีค่าพัฒนาต่ำสุด  คือ  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษา ต่างประเทศ  มีค่าพัฒนาเท่ากับ +6.42
4.  ความพึงพอใจของนักเรียน  ครู  ผู้ปกครองนักเรียน  และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด “ มิตรภาพที่  114”   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล  ปีการศึกษา 2554  โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม  มีความพึงพอใจมากที่สุดและเมื่อจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม  พบว่า  กลุ่มนักเรียน  มีความพึงพอใจสูงสุด ( = 4.70   S.D. = 0.12)  อยู่ในระดับมากที่สุดรองลงมา  คือ  กลุ่มผู้ปกครองนักเรียน ( = 4.63   S.D. = 0.18)  กลุ่มครู ( = 4.62   =  0.18)  และกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจต่ำสุด ( = 4.61   S.D. = 0.12)  อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน

ข้อเสนอแนะ

1.  ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการวิจัยไปปฏิบัติ
1.1 ผู้บริหารโรงเรียนควรสร้างความตระหนักให้นักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น
1.2 ควรส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูอย่างต่อเนื่อง และสร้างความเข้าใจให้ครูเห็นความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น
1.3 ควรมีการนิเทศ กำกับ ติดตาม เกี่ยวกับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากหน่วยงานต้นสังกัด  อย่างต่อเนื่อง

2.  ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในระดับประถมศึกษา และหรือระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.2 ควรมีการศึกษาหรือพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จในการจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

 

 

ผู้ชม :2001