รายงานผลการศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง

ชื่อเรื่อง สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนบ้านตันหยงกาโบยชัยพัฒนาปีการศึกษา 2554-2555

ผู้รายงาน นายจักรี วัฒนะ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านตันหยงกาโบยชัยพัฒนา

ปีที่รายงาน 2556

ระยะเวลาการวิจัย :  ตั้งแต่วันที่  25 ธันวาคม 2554 – 30 มีนาคม 2556

การดำเนินงานวิจัยเรื่องการศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนบ้านตันหยงกาโบยชัยพัฒนา ปีการศึกษา 2554-2555 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงานด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนบ้านตันหยงกาโบยชัยพัฒนา ปีการศึกษา 2554 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนบ้านตันหยงกาโบยชัยพัฒนา 3) ประเมินโครงการมวลชนร่วมใจ  ของโรงเรียนบ้านตันหยงกาโบยชัยพัฒนาประจำปีการศึกษา 2555 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  2 กลุ่ม คือ 1)  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน  ของโรงเรียนบ้านตันหยงกาโบยชัยพัฒนา   ปีการศึกษา 2554 ได้แก่ ครู  จำนวน 17  คน  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13  คน นักเรียน 169  คน  และผู้ปกครอง 123  คน
รวมทั้งสิ้น  322 คน 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการและประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตามโครงการมวลชนร่วมใจของโรงเรียนบ้านตันหยงกาโบยชัยพัฒนา ปีการศึกษา 2555 ได้แก่ ครู จำนวน 20  คนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน นักเรียน 165 คนและผู้ปกครอง  118 คนรวมทั้งสิ้น 316 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามที่ใช้ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน  ของโรงเรียนบ้านตันหยงกาโบยชัยพัฒนา ปีการศึกษา 2554 มีค่าความสอดคล้องของข้อคำถามเท่ากับ  0.91  และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.94  2) แบบสอบถามที่ใช้ในการประเมินโครงการมวลชนร่วมใจของโรงเรียนบ้านตันหยงกาโบยชัยพัฒนา ปีการศึกษา 2555 จำนวน 4 ฉบับ โดยแต่ละฉบับได้ค่าความสอดคล้องของข้อคำถามเท่ากับ  0.92  0.90  0.98  และ0.95 ตามลำดับ
และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.96 0.92 0.98 และ0.97  ตามลำดับ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย  และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัญหาด้านการบริหารงานด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนบ้านตันหยงกาโบยชัยพัฒนา ปีการศึกษา 2554 ประเมินโดย ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ผู้ปกครอง และนักเรียน  อยู่ในระดับ ปานกลาง ค่าเฉลี่ยกับ 3.47

2. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนบ้านตันหยงกาโบยชัยพัฒนา  มีดังนี้

2.1 ควรเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนให้มากขึ้น

2.2 โรงเรียนควรจัดบริการให้ชุมชนได้ใช้บริการห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์หรือการใช้บริการด้านสถานที่

2.3  โรงเรียนควรให้บุคลากรและนักเรียน มีส่วนร่วมในงานต่างๆ ของชุมชนให้มากขึ้น

2.4   ควรประสานให้หน่วยงานภายนอกเข้ามาสนับสนุนด้านต่างๆ เช่นสนับสนุนด้านงบประมาณ  ด้านการจัดกิจกรรม  และการอบรมด้านต่างๆ ให้แก่นักเรียน

3. การประเมินโครงการมวลชนร่วมใจ  ของโรงเรียนบ้านตันหยงกาโบยชัยพัฒนาประจำปีการศึกษา
2555 ปรากฏผลดังต่อนี้

3.1  การประเมินด้านสภาวะแวดล้อม โดย ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.36 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า  ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ  ข้อ 3 โครงการนี้มีความจำเป็นและมีส่วนในการสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน  มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ
4.63 รองลงมาคือข้อ 5 โครงการมีความสอดคล้องกับความต้องการของคนในชุมชน  มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60

3.2  การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นโดยครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.27   เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า  ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ  ข้อ 1  ผู้บริหารสถานศึกษามีความรู้
ความเข้าใจในหลักการและวิธีดำเนินโครงการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 รองลงมาคือข้อ 3 บุคลากรในโรงเรียน ที่รับผิดชอบกิจกรรมในโครงการมีความเหมาะสมและจำนวนเพียงพอ  มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.42

3.3 การประเมินด้านกระบวนการโดยครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.34 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ  ด้านที่ 4 การนำผลไปปรับปรุงพัฒนา (Action)  มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.54  รองลงมาคือ  ด้านที่ 3 การติดตามและประเมินผล (Check)มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ   4.3

3.4 การประเมินด้านผลผลิตครู โดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ผู้ปกครอง และนักเรียน  อยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.39  เมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรมพบว่า  กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ4.49  รองลงมา คือ กิจกรรมศึกษาแหล่งเรียนรู้  มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48

ผู้ชม :1908