รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนนักเรียนโรงเรียนบ้านใสใหญ่ปีการศึกษา 2554-2555

ชื่อผลงาน  รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนนักเรียนโรงเรียน

บ้านไสใหญ่ปีการศึกษา  2554 -2555

ผู้รายงาน   นางสาวสุขศิริ   ไตรสกุล

ปีที่รายงาน   ปีการศึกษา  2554 – 2555

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนนักเรียนโรงเรียนบ้านไสใหญ่   ปีการศึกษา 2554 – 2555  มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม   ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า   ประเมินด้านกระบวนการ  และประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วยคุณภาพการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนนักเรียนโรงเรียนบ้านไสใหญ่  ปีการศึกษา2554 – 2555 พฤติกรรมใฝ่รู้ใฝ่เรียนนักเรียนโรงเรียนบ้านไสใหญ่      ปีการศึกษา 2554 – 2555  พฤติกรรมการสอนของครูโดยส่งเสริมนักเรียนใช้แหล่งเรียนรู้  ทั้งในโรงเรียนและในท้องถิ่น   ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินการโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนนักเรียนโรงเรียนบ้านไสใหญ่   ปีการศึกษา 2554 – 2555  โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง นักเรียน  ปีการศึกษา 2554  จำนวน  38 คน  ปีการศึกษา  2555  จำนวน  37  คน  ประชากรครู ปีการศึกษา  2554  และปีการศึกษา  2555 จำนวน  10  คน   กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง  ปีการศึกษา  2554 จำนวน 38 คน  ปีการศึกษา 2555  จำนวน 37 คน   และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ปีการศึกษา 2554 และ 2555  จำนวน  7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน  ใช้แบบสอบถามที่มีค่าประเมินมาตราส่วนประมาณค่า  5  ระดับ  จำนวน  7 ฉบับ  ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับ   อยู่ระหว่าง .16 – .62

ผลการประเมินพบว่า

1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม  (Context) ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนนักเรียนโรงเรียนบ้านไสใหญ่   ปีการศึกษา 2554 – 2555 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู  โดยประเมิน 4  ด้าน  คือด้านความต้องการจำเป็นในการดำเนินการ  ด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์    ด้านความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด ด้านความเป็นไปได้ของโครงการโดยภาพรวมทั้ง  2  กลุ่มที่ประเมิน  พบว่า ปีการศึกษา  2554  และ ปีการศึกษา  2555  มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด  ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10  ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน

2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า  (Input) ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนนักเรียนโรงเรียนบ้านไสใหญ่    ปีการศึกษา
2554 – 2555   ตามความคิดเห็นของครู   โดยประเมิน 5 ด้าน   คือ   ความพร้อมของบุคลากร   ด้านความเพียงพอของงบประมาณด้านวัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่    ด้านการบริหารจัดการ  และด้านหน่วยงาน   ที่สนับสนุนโครงการก่อนดำเนินโครงการ  โดยภาพรวมพบว่า  ปีการศึกษา2554   มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  (m =3.52 , s = .34)  ได้คะแนน  10   ผ่านเกณฑ์ภาพรวม  และทุกประเด็นตัวชี้วัด   ปีการศึกษา 2555  มีระดับความเหมาะสม   อยู่ในระดับมาก     (m = 4.04 , s = .37)   ได้คะแนน  10  ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน

3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ  (Process)  ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนนักเรียนโรงเรียนบ้านไสใหญ่  ปีการศึกษา
2554 – 2555   ตามความคิดเห็นของนักเรียน  ครู ผู้ปกครอง    โดยประเมิน  4 ด้าน  คือ  ด้านการวางแผน    ด้านการดำเนินการจัดกิจกรรม  ด้านการติดตามประเมินผล  และด้านการนำผลไปปรับปรุง  ประเมินระหว่างดำเนินการ  โดยภาพรวมทั้ง 3  กลุ่มที่ประเมิน  พบว่า ปีการศึกษา  2554  และปีการศึกษา  2555
มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด   ได้คะแนนรวมเฉลี่ย  20  ผ่านเกณฑ์การประเมินภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน

4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนนักเรียนโรงเรียนบ้านไสใหญ่   ปีการศึกษา2554 – 2555  จำแนกตามตัวชี้วัด  พบว่า

4.1  ผลการประเมินด้านผลผลิตคุณภาพการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนนักเรียนโรงเรียน            บ้านไสใหญ่  ปีการศึกษา 2554 – 2555   ตามความคิดเห็นของนักเรียน  ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวม  พบว่า  ปีการศึกษา 2554  และปีการศึกษา  2555        ทั้ง  3  กลุ่มที่ประเมิน  ได้คะแนนรวมเฉลี่ย  15  ผ่านเกณฑ์ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน

4.2  ผลการประเมินด้านผลผลิต   พฤติกรรมใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านไสใหญ่  โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนนักเรียนโรงเรียนบ้านไสใหญ่  ปีการศึกษา  2554 – 2555  ตามความคิดเห็นของนักเรียน  ครู และผู้ปกครอง  โดยภาพรวม  พบว่า ปีการศึกษา  2554  และปีการศึกษา  2555 ทั้ง  3  กลุ่มที่ประเมิน  ได้คะแนนรวมเฉลี่ย  15  ผ่านเกณฑ์ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน

4.3  ผลการประเมินด้านผลผลิตพฤติกรรมการสอนของครู โดยส่งเสริมให้นักเรียนใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและในท้องถิ่น  โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนนักเรียนโรงเรียนบ้านไสใหญ่  ปีการศึกษา 2554 – 2555  ตามความคิดเห็นของนักเรียน  และครูโดยภาพรวม  พบว่า  ปีการศึกษา 2554  และปีการศึกษา  2555  ทั้ง  2  กลุ่มที่ประเมิน  ได้คะแนนรวมเฉลี่ย  15  ผ่านเกณฑ์ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน

4.4 ผลการประเมินด้านผลผลิตความพึงพอใจของนักเรียน  ครู  ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนนักเรียนโรงเรียนบ้านไสใหญ่ ปีการศึกษา  2554 – 2555     ตามประเด็นตัวชี้วัด  ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน  โดยภาพรวม  พบว่าปีการศึกษา  2554 และปีการศึกษา  2555  ทั้ง  4 กลุ่มที่ประเมิน  ได้คะแนนรวมเฉลี่ย  15   ผ่านเกณฑ์ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้

1. ผู้บริหารควรส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและท้องถิ่นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนแก่นักเรียนในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง    พร้อมทั้งมีการกำกับติดตามและประเมินผลโดยผู้บริหารเพื่อกระตุ้นให้ครูมีความตื่นตัวในการจัดกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ

2.  สถานศึกษาอื่นที่มีสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกับโรงเรียนบ้านไสใหญ่ควรนำโครงการพัฒนาพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนนักเรียนโรงเรียนบ้านไสใหญ่   ปีการศึกษา   2554 – 2555  ไปใช้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการนำแหล่งเรียนรู้
ในโรงเรียนและในท้องถิ่นมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้

3.  ผู้บริหาร  ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของโครงการและควรยกย่องเชิดชูเกียรติ  ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ชื่อเสียงผลงานของบุคคลกลุ่มบุคคล หน่วยงานที่ให้การช่วยเหลือสนับสนุนโครงการด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสมเพราะจะทำให้มีกำลังใจในการทำงานและส่งผลต่อความสำเร็จของงานในครั้งต่อๆไป

ข้อเสนอแนะในการวิจัยหรือประเมินครั้งต่อไป

1.  ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล

2.  ควรมีการประเมินโครงการในระดับองค์รวมของสถานศึกษา  โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินของซิปป์  (CIPP)

3.  ควรมีการประเมินโครงการต่างๆทุกโครงการที่โรงเรียนดำเนินการในระดับกลุ่มงานย่อย  หรือกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินอื่นๆที่เหมาะสม  และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสารสนเทศที่ต้องการคำตอบ

 

 

ผู้ชม :2014