การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนเรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านปาเต๊ะ

เรื่องที่รายงาน : การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนเรื่อง แรงและการเคลื่อนที่

สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5   โรงเรียนบ้านปาเต๊ะ

ผู้รายงาน : นิฟติมา หมาดทิ้ง

ปีที่ศึกษา : ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556

……………………………………..

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการรายงาน

1. เพื่อสร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระ      การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนบ้านปาเต๊ะ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80

2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่องแรงและการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านปาเต๊ะ

3. เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียนเรื่องแรงและการเคลื่อนที่กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านปาเต๊ะ

4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่องแรงและการเคลื่อนที่  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านปาเต๊ะ

สมมติฐานการรายงาน

1. เอกสารประกอบการเรียนเรื่องแรงและการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านปาเต๊ะ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 /80

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่องแรงและการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 5โรงเรียนบ้านปาเต๊ะ สูงกว่าก่อนเรียน

3. ดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียนเรื่องแรงและการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระ      การเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านปาเต๊ะ มีค่ามากกว่า  0.50  ขึ้นไป

4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่องแรงและ        การเคลื่อนที่กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านปาเต๊ะอยู่ในระดับมาก

วิธีการดำเนินการ

ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านปาเต๊ะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูล  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2556 จำนวน  18  คน 1 ห้องเรียน มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One Group Pretest-Posttest  Design) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องแรงและการเคลื่อนที่  และเอกสารประกอบการเรียนเรื่องแรงและการเคลื่อนที่  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบทดสอบย่อยหลังใช้เอกสารประกอบการเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน  และแบบสอบถามความ      พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่องแรงและการเคลื่อนที่  ดำเนินการสร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนโดยให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินและตรวจสอบคุณภาพ  ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 แล้วนำไปทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านปาเต๊ะ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 3 คน 10 คนและ30 คน พบว่า มีค่าประสิทธิภาพ (/) เท่ากับ 60.95/60.83,71.14/71.25 และ80.90/80.67  ตามลำดับ สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินและตรวจสอบค่าความสอดคล้อง(IOC) เท่ากับ 0.78    หาคุณภาพของแบบทดสอบโดยหาค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.20 – 0.80  และหาค่าอำนาจจำแนก (r)  มีค่าเท่ากับ 0.20 ขึ้นไป และหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรค่า KR-20 ของคูเดอร์  ริชาร์ดสัน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 จำนวน 40 ข้อ สร้างแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน  ให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินและตรวจสอบค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 ซึ่งอยู่ในระดับมาก  ค่าความสอดคล้อง(IOC) เท่ากับ 0.80  คำนวณหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (α-Coefficient)  ของครอนบัค ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ  0.81 แล้วนำไปทดลองกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังใช้เอกสารประกอบการเรียน หาค่าดัชนีประสิทธิผลและความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่องและการเคลื่อนที่

ผลการรายงาน

ผลการรายงานพบว่าเอกสารประกอบการเรียนเรื่อง แรงและการเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพเป็น 81.14/82.13 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80/80  ซึ่งสูงกว่าสมมติฐานข้อ 1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีค่า t จากการคำนวณเท่ากับ  38.72  สูงกว่าค่า  t  จากการเปิดตาราง  (.01  t = 2.898)  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อ  2 ค่าดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียนเรื่องแรงและการเคลื่อนที่ มีค่าเท่ากับ 0.7138  หมายความว่า  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 71.38 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานข้อ 3 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่องแรงและการเคลื่อนที่ ในภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.31 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานข้อ 4

ผู้ชม :2666