การพัฒนาทักษะการเขียนเรียงความ โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านกาเนะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล

เรื่อง การพัฒนาทักษะการเขียนเรียงความ โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านกาเนะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล

ผู้วิจัย นางเจียมจิตร  อนุวัฒนวงศ์   ครูชำนาญการโรงเรียนบ้านกาเนะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล

ปีที่ทำการวิจัย ๒๕๕๖

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านกาเนะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80  เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านกาเนะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ก่อนและหลังการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์    และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านกาเนะ  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล  ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2556 โรงเรียนบ้านกาเนะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล  จำนวน 26 คน  ซึ่งใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Random Sampling)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์  สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านกาเนะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล  จำนวน 4 เล่ม  แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนเรียงความ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านกาเนะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล จำนวน 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 เป็นแบบเลือกตอบ 4  ตัวเลือก และฉบับที่ 2 เป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนแบบความเรียง และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์

ผลการวิจัยพบว่า

1. แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านกาเนะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล มีทั้งหมด 4 เล่ม ซึ่งเรียบเรียงเป็นเล่มที่ 1 การสร้างคำใหม่ เล่มที่ 2 การสร้างวลีและประโยค เล่มที่ 3 การเขียนเป็นข้อความและเรื่องราว และเล่มที่ 4 การเขียนเป็นเรื่องราวตามรูปแบบเรียงความ

2. สรุปผลการหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเขียนคำควบกล้ำ ร ล ว   สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านกาเนะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล  ครั้งที่ 2  ทดลองกับนักเรียนกลุ่มเล็ก (Small Group Testing) จำนวน 10  คนเพื่อดูความเหมาะสมของภาษาและความยากง่ายของแบบฝึกเสริมทักษะแต่ละเล่ม ได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ  เท่ากับ  81.50/82.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80

3. ผลการเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านกาเนะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ก่อนกับหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ เล่มที่ 1 – 4 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เท่ากับ 142 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 18.20 เมื่อพิจารณาคะแนนการพัฒนาของนักเรียนรายบุคคล ปรากฏว่า คะแนนหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สูงกว่าก่อนเรียนทุกคน

4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านกาเนะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์    โดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

 

ผู้ชม :1894