รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนตามแนวทางการดำเนินงาน โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านโคกพยอม อำเภอละงู จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2555

ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนตามแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านโคกพยอม   อำเภอละงู  จังหวัดสตูล  ปีการศึกษา 2555
ผู้รายงาน นางสาวถนอมสุข   ผิวเหลืองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโคกพยอม
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา  2555
…………………………………………………………………………………………………………………………………….

บทสรุป

รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนตามแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านโคกพยอม อำเภอละงู  จังหวัดสตูล  ปีการศึกษา 2555  ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า  ด้านกระบวนการดำเนินงานและด้านผลผลิตของโครงการ  โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์  (CIPP Model)  มาใช้ในการประเมิน  โดยมีวิธีการประเมิน 4 ลักษณะ คือ การประเมินโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้รายงานสร้างขึ้น  ประเมินโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงด้านภาวะสุขภาพของนักเรียน  บันทึกผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนและบันทึกผลการประเมินมาตรฐานการศึกษากลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 41 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองจำนวน 41 คน  กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และศึกษาจากประชากรครู จำนวน 6 คน
เครื่องมือที่ใช้ในในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย  แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating  Scale)  5 ระดับ  และมีข้อคำถามปลายเปิดจำนวน 6 ฉบับ  ทุกฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยมีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.909 – 0.966 แบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริง 3 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 9 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  โดยใช้โปรแกรม SPSS v.16  ผลการประเมินพบว่า
1.  ด้านสภาพแวดล้อม พบว่า   ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน โรงเรียนบ้านโคกพยอม ตามแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านโคกพยอม อำเภอละงู จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2555  ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู โดยภาพรวมได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ทุกประเด็นตัวชี้วัดและทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของครูที่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด  (= 4.53 ,  = 0.42) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุดได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์ประเด็นการประเมิน และรองลงมา คือ ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (= 4.48 , S.D. = 0.46)  ได้คะแนน 10  ผ่านเกณฑ์ประเด็นการประเมิน
2.  ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยนำเข้าโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน โรงเรียนบ้านโคกพยอม ตามแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านโคกพยอม อำเภอละงู จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2555 ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมินผ่านเกณฑ์ที่กำหนดเมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของครูที่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (  = 4.07,   = 0.59) ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์ประเด็นการประเมิน
3.  ด้านกระบวนการ พบว่า  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านโคกพยอม ตามแนวทางการดำเนินงาน โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านโคกพยอม อำเภอละงู จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2555  ตามแนวคิดเห็นของนักเรียน   ครู  และผู้ปกครอง โดยภาพรวมได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20  ทุกประเด็นตัวชี้วัดและทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดผ่านเกณฑ์การประเมิน
เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมินพบว่า ความคิดเห็นของนักเรียนมีความเหมาะสมในระดับมาก ( = 4.23 , S.D. = 0.46) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์ประเด็นการประเมิน รองลงมา คือ ความคิดเห็นของผู้ปกครอง มีความเหมาะสมในระดับมาก ( = 4.17 , S.D. = 0.50) ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์ประเด็นการประเมินและความคิดเห็นของครูมีเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.16, S.D. = 0.57) มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นโดยภาพรวมต่ำสุด ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์ประเด็นการประเมิน
4.  ด้านผลผลิตของโครงการ พิจารณาเป็นรายประเด็นดังนีh
4.1   คุณภาพการดำเนินงานตามองค์ประกอบของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ  10 องค์ประกอบ พบว่า   สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการดำเนินงานตามองค์ประกอบโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 10 องค์ประกอบโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านโคกพยอม ตามแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านโคกพยอม อำเภอละงู จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2555 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ทุกประเด็นตัวชี้วัดและทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดผ่านเกณฑ์การประเมินเมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมินพบว่า  ความคิดเห็นของครูที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก  (  = 4.43 ,   = 0.56 ) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุดได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์ประเด็นการประเมิน รองลงมา คือ ความคิดเห็นของนักเรียนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก  ( =  4.23 , S.D. = 0.56 ) ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์ประเด็นการประเมิน  ส่วนความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( =  4.12, S.D. = 0.59 ) มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นโดยภาพรวมต่ำสุด ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์ประเด็นการประเมิน
4.2 พฤติกรรมด้านสุขภาพของครู เพื่อการมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีและเป็นแบบอย่างได้ พบว่า  โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน  และจากการประเมินตนเองของครูในภาพรวมมีพฤติกรรมที่เป็นแบบอย่างได้อยู่ในระดับมาก (= 4.32 ,  = 0.55)
4.3  การพัฒนาด้านภาวะสุขภาพของนักเรียนได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง ภาวะทางโภชนาการ ภาวะทางทันตกรรม และสถิติการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุ พบว่า  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามสภาพจริงการประเมินภาวะสุขภาพของนักเรียนโดยภาพรวมภาวะสุขภาพนักเรียนปกติ  อยู่ในระดับดีมาก  เฉลี่ยร้อยละ  91.63  และเมื่อพิจารณาแต่ละรายการ  พบว่า  นักเรียนมีภาวะสุขภาพทุกรายการอยู่ในระดับดีมาก  เรียงตามลำดับดังนี้  ไม่มีปัญหาสถิติการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุ  อยู่ในระดับดีมาก  ร้อยละ 93.02  มีค่าร้อยละสูงสุด  รองลงมา  คือ  ส่วนสูงตามเกณฑ์และไม่มีปัญหาภาวะทางทันตกรรมมีค่าร้อยละท่ากัน 91.86 อยู่ในระดับดีมาก  ส่วนน้ำหนักตามเกณฑ์และไม่มีปัญหาภาวะทางโภชนาการ อยู่ในระดับดีมาก  ร้อยละ 90.70  มีค่าร้อยละต่ำสุด
4.4   ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนโรงเรียนบ้านโคกพยอม ได้แก่ วิ่งเร็ว 50 เมตร ยืนกระโดดไกล ลุกนั่ง 30 วินาที วิ่งเก็บของ งอตัวไปข้างหน้า พบว่า  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามสภาพจริง  การทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียน  โดยภาพรวมสมรรถภาพทางกายของนักเรียนปกติ  อยู่ในระดับดีมาก  คิดเป็นร้อยละ  91.86  และเมื่อพิจารณาแต่ละรายการ  พบว่านักเรียนมีสมรรถภาพทางกายทุกรายการ  อยู่ในระดับดีมาก  เรียงตามลำดับดังนี้  วิ่งเร็ว 50 เมตร อยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 94.19  มีค่าร้อยละสูงสุด  รองลงมา คือ งอตัวไปข้างหน้า อยู่ในระดับดีมาก มีค่าร้อยละ 93.02  ส่วนลุกนั่ง 30  วินาที  อยู่ในระดับดีมาก มีค่าร้อยละ 90.70 มีค่าร้อยละต่ำสุด
4.5   ผลการประเมินเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษามาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดี และมีสุนทรียภาพ พบว่า  ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของนักเรียนตามมาตรฐานการศึกษาด้านผู้เรียน ปีการศึกษา 2555  มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพ โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับดีเยี่ยม  เฉลี่ยร้อยละ  95.16  และเมื่อพิจารณาแต่ละตัวบ่งชี้  พบว่า  ทุกตัวบ่งชี้ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับดีเยี่ยม  เรียงตามลำดับดังนี้  มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  และสร้างผลงานจากการเข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ กีฬา นันทนาการตามจิตนาการ ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดีเยี่ยม ร้อยละ 100 ค่าร้อยละสูงสุดเท่ากัน รองลงมา คือ เห็นคุณค่าในตนเอง มีความมั่นใจกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม  ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับดีเยี่ยม มีค่าร้อยละ 94.19   ส่วนมีน้ำหนัก ส่วนสูงและมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์  และป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษและหลีกเลี่ยง  ตนเองจากสภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง โรคภัย อุบัติเหตุ และปัญหาทางเพศ ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับดีเยี่ยม  มีค่าร้อยละต่ำสุด
4.6   ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า  สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิต เกี่ยวกับความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน ตามแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านโคกพยอม อำเภอละงู จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2555  ตามความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมได้คะแนนรวมเฉลี่ยทุกรายการที่ประเมินผ่านเกณฑ์ที่กำหนดเมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมินพบว่า  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุดอยู่ในระดับมาก  ( = 4.27 , S.D. =  0.58  )  คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์ประเด็นการประเมิน รองลงมา คือ ครูมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  (  = 4.25 ,   = 0.58) คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์ประเด็นการประเมิน  ส่วนผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุดอยู่ในระดับมาก   ( = 4.13, S.D. = 0.61 ) ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์ประเด็นการประเมิน

ข้อเสนอแนะ
1.    ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปประยุกต์ใช้

1.1   ควรกำหนดมาตรการ การกำกับ ติดตามให้ครูได้ดำเนินการจัดการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนอย่างเป็นระบบ
1.2   เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพอย่างแท้จริง โรงเรียนควรมีการจัดสรรหรือของบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอในการดำเนินโครงการ
1.3   การดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเป็นความร่วมมือกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ ดังนั้น ควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาสุขภาพอนามัยของนักเรียนควบคู่กันไปกับการจัดการศึกษา
2.   ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
2.1   ควรศึกษาปัจจัยหรือองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมสภาวะสุขภาพของนักเรียน
2.2   ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะสุขภาพที่ดีกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

 

ผู้ชม :3218