รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 2 สนุกกับแม่เหล็กและไฟฟ้า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ชื่อเรื่อง              รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 2 สนุกกับแม่เหล็กและไฟฟ้า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้ศึกษา              นางชมพิสุทธิ์  จงใจ ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนวัดแดง  อำเภอเชียรใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 3
ปีที่รายงาน        ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2557

บทคัดย่อ

รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 2 สนุกกับแม่เหล็ก และไฟฟ้า ชั้นประถมศึกษาปีที่2 มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 2 สนุกกับแม่เหล็กและไฟฟ้า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  (2)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน ชุดกิจกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 2 สนุกกับแม่เหล็กและไฟฟ้า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 2 สนุกกับแม่เหล็กและไฟฟ้า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  ประชากรเป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียน  ที่ 1 ปีการศึกษา 2557 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 3  จำนวน  75  คน  กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการทดลองได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1    ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนวัดแดง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 3จำนวน  18  คน  เครื่องมือ ที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย (1) ชุดกิจกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 2 สนุกกับแม่เหล็กและไฟฟ้า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  (2)แผนการจัดการเรียนรู้  (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ให้ผู้เชี่ยวชาญหาค่า IOCแล้ว  1 ฉบับ (4) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 2 สนุกกับแม่เหล็ก และไฟฟ้า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้รายงานเป็นผู้สอนด้วยตนเอง  ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ใช้เวลา  22  ชั่วโมง  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยสถิติพื้นฐาน  โดยหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (S.D.)  สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบเครื่องมือได้แก่  การหาค่าความเที่ยงตรงของเครื่องมือ  โดยการคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) หาค่าความยากง่าย (P) ค่าอำนาจจำแนก (r)  และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ โดยใช้สูตรของโลเวท ค่าประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน   โดยการหาค่า E1 และ E2 และสถิติที่ใช้ตรวจสอบสมมติฐานโดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ด้วยการทดสอบที   (t-test)

 

ผู้ชม :1349