รายงานการใช้ชุดฝึกอบรมกระบวนการ TAPACC และยุทธวิธีช่วยคิดแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล

ชื่อผลงาน รายงานการใช้ชุดฝึกอบรมกระบวนการ TAPACC และยุทธวิธีช่วยคิดแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
ผู้ศึกษาค้นคว้า นางรำเพย  สุทธินนท์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
ปีที่ศึกษา พ.ศ. 2556 – 2557

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) สร้างและหาประสิทธิภาพ   E1/E2 ของชุดฝึกอบรม กระบวนการ  TAPACC  และยุทธวิธีช่วยคิดแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล  ตามเกณฑ์  80/80  2) เปรียบเทียบความรู้  ความเข้าใจของครูผู้สอนเกี่ยวกับกระบวนการ  TAPACC และยุทธวิธีช่วยคิดแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์  ก่อนและหลังการฝึกอบรม 3) ศึกษาความสามารถของครูผู้สอนเกี่ยวกับกระบวนการ  TAPACC  และยุทธวิธีช่วยคิดแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์  4) เปรียบเทียบความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ด้วยกระบวนการ  TAPACC  และยุทธวิธีช่วยคิดแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์กับเกณฑ์ ค่าเฉลี่ยที่กำหนด  5) ศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อชุดฝึกอบรม กระบวนการ TAPACC และยุทธวิธีช่วยคิดแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์  6) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียน กระบวนการ  TAPACC  และยุทธวิธีช่วยคิดแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์  กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้  มี 2 กลุ่ม คือ 1) ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล  ปีการศึกษา  2556   จำนวน 18  คน  ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive Sampling)  คือ ครูที่ทำหน้าที่ประธานชมรมครูคณิตศาสตร์และเลขานุการชมรมครูคณิตศาสตร์  ทุกศูนย์เครือข่ายสถานศึกษา และ 2)  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  จำนวน  314   คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  โดยเลือกผู้เรียนที่อยู่ในห้องเรียนของครูกลุ่มตัวอย่าง ใช้แบบแผนการทดลองแบบ   One – Group Pretest – Posttest Design  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา  คือ ชุดฝึกอบรมกระบวนการ TAPACC และยุทธวิธีช่วยคิดแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล   แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์  แบบสอบถามความพึงพอใจและแบบบันทึกการนิเทศที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป  SPSS  for  Windows  สถิติที่ใช้ ได้แก่   การแจกแจงความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า  t – test for dependent  sample และค่า t – test  แบบ One – tailed  test

ผลการศึกษาพบว่า

1.  ข้อมูลทั่วไปของครูกลุ่มตัวอย่างจำนวน 18 คน  เพศชาย  5 คน  หญิง 13 คน  คิดเป็นร้อยละ  27.78 และ 72.22  ตามลำดับ  วิชาเอกคณิตศาสตร์  15  คน  วิชาเอกอื่น ๆ  3  คน  คิดเป็นร้อยละ  83.33 และ 16.67 ตามลำดับ  การศึกษา  ปริญญาตรี  13  คน  สูงกว่าปริญญาตรี  5  คน  คิดเป็นร้อยละ 72.22  และ 27.78  ตามลำดับ  อายุราชการกลุ่มที่มากที่สุดคือ  อายุราชการระหว่าง 16 – 20  ปี  จำนวน  7  คน  รองลงมาคือ  11 – 15  ปี  จำนวน  4  คน  คิดเป็นร้อยละ  38.88  และ  22.22  ตามลำดับ

2. ประสิทธิภาพชุดฝึกอบรมกระบวนการ  TAPACC  และยุทธวิธีช่วยคิดแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่  6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล  มีค่า E1/E2 เท่ากับ 83.00/85.55  แสดงว่าชุดฝึกอบรม กระบวนการ  TAPACC  และยุทธวิธีช่วยคิดแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่  6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์โดยมีค่า E1 และ E2 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้

3.  ความรู้ความเข้าใจของครูกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการฝึกอบรม   กระบวนการ TAPACC และยุทธวิธีช่วยคิดแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

4.  ผลการเปรียบเทียบคะแนน ความสามารถของครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วยกระบวนการ  TAPACC  และยุทธวิธีช่วยคิดแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล  กับค่าเฉลี่ยที่กำหนด ( = 3.50) พบว่า มากกว่าค่าเฉลี่ยที่กำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

5.  ความพึงพอใจของครูผู้สอนที่เข้ารับการฝึกอบรมต่อชุดฝึกอบรม กระบวนการ TAPACC  และยุทธวิธีช่วยคิดแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล  โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

6. ความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการเรียนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการ TAPACC และยุทธวิธีช่วยคิดแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล  โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

 

ผู้ชม :1520