รายงานผลการใช้หลักสูตรท้องถิ่น สาระการเรียนรู้ภาษามลายู(รูมี) พุทธศักราช 2555 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล

ชื่อผลงาน   รายงานผลการใช้หลักสูตรท้องถิ่น สาระการเรียนรู้ภาษามลายู(รูมี) พุทธศักราช 2555 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2551 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
ผู้ศึกษา       นางทิพย์ เทศอาเส็น  ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
ปีที่ศึกษา    พ.ศ. 2557

บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นสาระการเรียนรู้ภาษามลายู (รูมี) พุทธศักราช 2555 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ที่มีคุณภาพ 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของครูเกี่ยวกับหลักสูตรท้องถิ่นสาระการเรียนรู้ภาษามลายู (รูมี) พุทธศักราช 2555 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ระหว่างก่อนและหลังการฝึกอบรม 3) เพื่อศึกษาสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรท้องถิ่นสาระการเรียนรู้ภาษามลายู (รูมี) พุทธศักราช 2555 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการใช้หลักสูตรท้องถิ่นสาระการเรียนรู้ภาษามลายู (รูมี) พุทธศักราช 2555 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ มี 2 กลุ่ม คือ 1) ครูผู้สอนครูผู้สอนภาษามลายู ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2557 ในสถานศึกษาที่ใช้หลักสูตรท้องถิ่นสาระการเรียนรู้ภาษามลายู (รูมี) พุทธศักราช 2555 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล จำนวน 20 คน 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2557 ที่ได้รับการสอนจากครูกลุ่มตัวอย่าง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 4,991 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงาน ได้แก่ 1) หลักสูตรท้องถิ่น สาระการเรียนรู้ภาษามลายู(รูมี) พุทธศักราช 2555 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล 2. หนังสือเรียนภาษามลายู(รูมี) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 และเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบประเมินคุณภาพหลักสูตรท้องถิ่น สาระการเรียนรู้ภาษามลายู(รูมี) พุทธศักราช 2555 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล 2) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจของครูเกี่ยวกับหลักสูตรท้องถิ่นสาระการเรียนรู้ภาษามลายู (รูมี) พุทธศักราช 2555 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรท้องถิ่นสาระการเรียนรู้ภาษามลายู (รูมี) พุทธศักราช 2555 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการใช้หลักสูตรท้องถิ่นสาระการเรียนรู้ภาษามลายู (รูมี) พุทธศักราช 2555 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows สถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t – test
ผลการศึกษา พบว่า
1. ผลการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นสาระการเรียนรู้ภาษามลายู (รูมี) พุทธศักราช 2555 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล พบว่ามีคุณภาพความเหมาะสมและสอดคล้องกันในระดับมากที่สุด
2. ผลการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของครูเกี่ยวกับหลักสูตรท้องถิ่นสาระการเรียนรู้ภาษามลายู (รูมี) พุทธศักราช 2555 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ระหว่างก่อนและหลังการอบรม พบว่า หลังการอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรท้องถิ่นสาระการเรียนรู้ภาษามลายู (รูมี) พุทธศักราช 2555 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับดีมาก 2,413 คน ระดับดี 2,580 คน
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการใช้หลักสูตรท้องถิ่นสาระการเรียนรู้ภาษามลายู (รูมี) พุทธศักราช 2555 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล พบว่าครูมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

ผู้ชม :2057