การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียน โดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านทุ่งพัฒนา ปีการศึกษา 2558-2559

ชื่อวิจัย       การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียน โดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านทุ่งพัฒนา ปีการศึกษา 2558-2559
ผู้วิจัย        นายบูอาสัน  หาโส๊ะ
หน่วยงาน  โรงเรียนบ้านทุ่งพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
ปีที่วิจัย      ปีการศึกษา 2558-2559

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดและการเขียนของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านทุ่งพัฒนา หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2558-2559  2) เพื่อศึกษาทักษะการอ่าน การคิดและการเขียนของโรงเรียนบ้านทุ่งพัฒนา หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2558-2559  3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งพัฒนา หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2558-2559  4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดและการเขียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งพัฒนา โดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2558-2559 โดยประยุกต์ใช้หลักการวิจัยปฏิบัติการวงจร PAOR เป็นกระบวนการพัฒนา 4 ขั้นตอนประกอบด้วย ขั้นวางแผน (planning) ขั้นปฏิบัติการ (Action) ขั้นการสังเกต (Observation) และขั้นสะท้อนผล (Reflection) ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการสองปีการศึกษาตั้งแต่ภาคเรียนที่1ปีการศึกษา 2558 ถึงปีการศึกษา 2559 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย นักเรียนปีการศึกษา 2558 จำนวน 27 คน และปีการศึกษา 2559 จำนวน 21 คน ครู ปีการศึกษา 2558 และ ปีการศึกษา 2559 จำนวน 6 คน ผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2558 จำนวน 27 และปีการศึกษา 2559 จำนวน 21 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2558และปีการศึกษา 2559 จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating) แบบคัดกรองทักษะการอ่าน การคิดและการเขียน แบบผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษาและระดับชาติ จำนวน 3 ฉบับ และเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 2 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่1 แบบสอบถามคุณภาพระดับคุณภาพการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดและการเขียนของนักเรียน โดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านทุ่งพัฒนา หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2558-2559  (นักเรียน ครู ผู้ปกครอง เป็นผู้ตอบแบบสอบถาม)  ฉบับที่2 แบบสอบถามความพึงพอใจการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดและการเขียนของนักเรียน โดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านทุ่งพัฒนา หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2558-2559  (นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นผู้ตอบแบบสอบถาม )   เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา 2558  และสิ้นสุดปีการศึกษา 2559 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม  SPSS  version  22 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard  Deviation)การวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดและการเขียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านทุ่งพัฒนา ปีการศึกษา 2558-2559

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการศึกษาความคิดเห็นของครู นักเรียน ผู้ปกครอง ที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียน โดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านทุ่งพัฒนา ปีการศึกษา 2558 – 2559 พบว่าการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียน โดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม ปีการศึกษา 2558 โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ประเมินมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (m= 3.84, s= .64) เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมินพบว่ากลุ่ม นักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการพัฒนาค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก (= 3.92, S.D. = .67) รองลงมา กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (= 3.81, S.D. = .61) ส่วนกลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมาก เช่นกัน  (m= 3.80, s= .61) ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ประเมินมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (m= 3.96, s= .61)  เมื่อพิจารณารายกลุ่มพบว่า กลุ่มผู้ประเมิน ผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก (= 4.05, S.D. = .69)) รองลงมา กลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (m= 3.99, s= .61) ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมากเช่นกัน (= 3.83, S.D. =.62) สอดคล้องตามสมมุติฐาน
  2. การประเมินทักษะการอ่าน การคิดและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6โรงเรียนบ้านทุ่งพัฒนา ปีการศึกษา 2558-2559 พบว่าเมื่อโรงเรียนดำเนินการพัฒนาทักษะการอ่านการคิด และการเขียน โดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านทุ่งพัฒนา ปีการศึกษา 2558 – 2559 พบว่า ปีการศึกษา 2558 นักเรียนที่อยู่ในกลุ่มเก่ง ร้อยละ 23.30 ในปีการศึกษา 2559 นักเรียนที่อยู่ในกลุ่มเก่ง ร้อยละ 26.21 มีค่าพัฒนาเฉลี่ย ร้อยละ 4.36  ปีการศึกษา 2558 นักเรียนที่อยู่ในกลุ่มปานกลาง ร้อยละ18.45  ในปีการศึกษา 2559 นักเรียนที่อยู่ในกลุ่มปานกลาง ร้อยละ 14.56 มีค่าพัฒนาเฉลี่ยร้อยละ -2.92  และ นักเรียนที่อยู่ในกลุ่มอ่อนในปีการศึกษา 2558 ร้อยละ 9.71  ในปีการศึกษา 2559 เหลือนักเรียนกลุ่มอ่อนเพียงร้อยละ 7.77   มีค่าพัฒนาเฉลี่ยร้อยละ -1.43 สอดคล้องตามสมมุติฐาน
ผู้ชม :1470