เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้ PAKAE Model เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน บุคลากรและสถานศึกษา โรงเรียนบ้านป่าแก่บ่อหิน

ชื่อเรื่อง     การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้ PAKAE Model เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน บุคลากรและสถานศึกษา
โรงเรียนบ้านป่าแก่บ่อหิน
ผู้วิจัย        อรอุมา ทองนาค
ปีการศึกษา     2562

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาการบริหารจัดการศึกษา
เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน  บุคลา ร และสถานศึกษา โรงเรียนบ้านป่าแก่บ่อหิน  2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารโดยใ ช้ PAKAE Model    3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารโดยใช้ PAKAE Model และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการรบริหารโดยใช้ PAKAE Model  เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน  บุคลากรและสถานศึกษาโรงเรียนบ้านป่าแก่บ่อหิน
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวิธีการดำเนินงาน 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1
การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการบริหารจัดการศึกษา ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษา โดยการยกร่างรูปแบบ   และการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบระยะที่ 3 การนำรูปแบบการบริหารไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง    กลุ่มตัวอย่างได้แก่  ผู้บริหารครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง
และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านป่าแก่บ่อหิน จำนวน 128 คน แบ่งเป็นผู้บริหาร จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 10 คน    คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  จำนวน 7 คน  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 55 คน   และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 55 คน  ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง
(Purposive Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่   คู่มือดำเนินงานรูปแบบการบริหารโดยใช้ PAKAE Model
เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนบุคลากรและสถานศึกษาโรงเรียนบ้านป่าแก่บ่อหิน การวิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์โดยการหาความถี่ค่าเฉลี่ย ร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน
บุคลากรและสถานศึกษาโรงเรียนบ้านป่าแก่บ่อหินพบว่าการบริหารจัดการศึกษาในภาพรวมปัจจุบัน
มีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก (X= 4.47) โดยเฉพาะด้านกระบวนการโรงเรียนมีการวางแผนในการบริหารอย่างเป็ นระบบภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย (X= 4.76) รองลงมาคือโรงเรียนมีการนำผลการประเมินมาพิจารณาเพื่อวางแผนปรับปรุงการดำเนินงานในปีต่อไ ป (X= 4.65) แต่ยังมีปัญหาอุปสรรคและความต้องการในการพัฒนารูปแบบในระดับมาก
โดยโรงเรียนต้องการให้มีการส่งเสริมให้มีการพัฒนาครูเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ตามความเหมาะสม การส่งเสริม
สนับสนุนการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
การสร้างโรงเรียนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการปลูกจิตสำนึกรักษ์เกษตรเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนและชุมชน
2 . ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารพบว่ารูปแบบการบริหารจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพ นักเรียน
บุคลากรและสถานศึกษาโรงเรียนบ้านป่าแก่บ่อหิน มีองค์ประกอบที่สำคัญ  ได้แก่ หลักการและแนวคิดวัตถุประสงค์ของรูปแบบขอบข่ายการบริหารวิธีดำเนินงานของรูปแบบตามกรอบการดำเนินงาน PAKAE Model ป ร ะ ก อ บ ด้ ว ย คื อ ขั้ น P : Participativemanagement (การบริหารแบบมีส่วนร่วม) ขั้น A : Area Focused (หลักการเอาพื้นที่ในชุมชนเป็นตัวตั้ง) ขั้น K : KnowledgeManagement (การจัดการความรู้) ขั้น A : Authentic learning (การเรียนรู้ที่แท้จริง) ขั้น E : Experiential Learningท (การเรียนรู้จากประสบการณ์) และแนวทางการวัดและประเมินรูปแบบ
ตามความคิดเห็น ของผู้ทรงคุณวุฒิโดยภาพรวม มีความเหมาะสม ความถูกต้องและมีความเป็นไปได้
ในการน าไปใช้ประโยชน์มากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า
3 . 1  นักเรียนมีผลสมัฤทธิทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลักเพิ่มสูงขึ้น มีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์  มีวิถีชีวิตตามวิถีพุทธ   และดำเนินวิถีชีวิตตามอัตลักษณ์ท้องถิ่น    3.2 ครูผู้สอนในโรงเรียนมีความ รู้
ความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ICT ในการจัดการเรียนการสอนและสร้างโรงเรียนให้เป็ นองค์กรแห่งการเรียนรู้ความรู้โดยภาพรวมมีระดับ การปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก  (X= 4 . 5 0) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าครูมีการ ปฏิบัติในระดับมากที่สุดคือ การดำเนินกิจกรรมการเรียน การสอน ที่สอดคล้องกับหลักสูตร
และธรรมชาติของวิชารองลงมาครูมีการผลิตหรือจัดหาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษาที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนในวิชาที่สอนมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตในชุมชน
4. การประเมินผลการใช้รูปแบบ พบว่า ครูผู้สอนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
และผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการด าเนินงานตามรูปแบบการบริหารโดยใช้ PAKAE Model เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนบุคลากรและสถานศึกษาโรงเรียนบ้านป่าแก่บ่อหินในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากถึงมากที่สุด (X= 4.52)
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารในด้านการนำองค์กร/ภาวะผู้นำมากที่สุด โดยเฉพาะความสามารถในการบริหารงาน  ทำงานอย่างเป็นระบบ และสามารถตัดสินใจได้เหมาะสมกับสถานการณ์  รองลงมาคือ การสนับสนุนให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ

ผู้ชม :296