เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านดาหลำ โดยใช้ CIPPIEST Model

ชื่อเรื่อง    การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านดาหลำ โดยใช้ CIPPIEST Model

ชื่อผู้ประเมิน     มิรินทร์  พนมอุปการ

ปีที่ประเมิน    2562

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านดาหลำ มีวัตถุประสงค์ คือ ประเมินบริบทของโครงการ ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ  ประเมินกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ ประเมินผลผลิตของโครงการ ประเมินผลกระทบของโครงการ ประเมินประสิทธิผลของโครงการ  ประเมินความยั่งยืนของโครงการและเพื่อประเมินการถ่ายทอดส่งต่อของโครงการ โดยใช้ CIPPIEST Model กลุ่มตัวอย่าง  จำนวน 272  คน  ประกอบด้วย  ครูผู้สอน จำนวน 15 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  จำนวน 125 คน  และผู้ปกครองนักเรียน  จำนวน 125 คน  ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ เป็นแบบสอบถาม จำนวน 12 ฉบับ  การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการประเมินในภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยสรุปเป็นรายด้าน ได้ดังนี้

  1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า ครูโรงเรียนบ้านดาหลำ มีความต้องการดำเนินการโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากผ่านเกณฑ์การประเมิน
  2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ มีความคิดเห็นว่าปัจจัยนำเข้าที่เกี่ยวกับงบประมาณ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเรียนรู้  มีความเหมาะสมและความเพียงพอ ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
  3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน พบว่า ครูผู้สอน นักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนบ้านดาหลำ มีกระบวนการดำเนินงานตามแผนหรือวัตถุประสงค์โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยรวมมีระดับปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
  4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเรียนรู้ แบ่งเป็น 2 ประเด็น ดังนี้

4.1 ผลการประเมินทักษะการปฏิบัติของนักเรียนของครูผู้สอนจากการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตามความคิดเห็นของครูนักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนในภาพรวมมีระดับปฏิบัติอยู่ในระดับดี

4.2  ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน  ต่อการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยรวมในระดับมากที่สุด

  1. ผลการประเมินด้านผลกระทบ พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านดาหลำ โดยภาพรวมในระดับพึงพอใจมาก
  2. ผลการประเมินด้านประสิทธิผล พบว่า ครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียน มีความเห็นว่า ระดับปฏิบัติและผลสำเร็จของการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านดาหลำ โดยภาพรวม มีการดำเนินงานในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนาอาคารสถานที่ และสภาพแวดล้อมของโรงเรียนเพื่อการให้บริการ
  3. ผลการประเมินด้านความยั่งยืน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน มีความเห็นต่อระดับปฏิบัติและผลสำเร็จของการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านดาหลำ โดยภาพรวมในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผู้บริหารปฏิบัติงานด้านพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและแหล่งเรียนรู้ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

8. ผลการประเมินด้านการถ่ายทอดส่งต่อ พบว่า ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเห็นต่อระดับปฏิบัติและผลสำเร็จของการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียน โดยภาพรวมในระดับมาก ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามโครงการ ส่งผลให้โรงเรียนบ้านดาหลำ เป็นโรงเรียนที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ในระดับมาก  โรงเรียนมีการจัดทำเอกสารเผยแพร่ผลงาน ข้อมูลสารสนเทศด้านแหล่งเรียนรู้แก่ครู และสถานศึกษาอื่น

ผู้ชม :390